Dementia

Published on June 2016 | Categories: Documents | Downloads: 52 | Comments: 0 | Views: 859
of 23
Download PDF   Embed   Report

Comments

Content

เอกสารคําสอน
เรื่อง

แนวทางการวินิจฉัยและรักษาภาวะสมองเสื่อม
Dementia: diagnosis and treatment
สําหรับ
นักศึกษาแพทยชนั้ ปที่ 4
วิชาบูรณาการอายุรศาสตร 1-2 (พค 411-412)

โดย
รศ.นพ.กองเกียรติ กูณฑกันทรากร

หนวยประสาทวิทยา สาขาวิชาอายุรศาสตร
สถานวิทยาศาสตรคลินิก คณะแพทยศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร

แนวทางการวินิจฉัยและรักษาภาวะสมองเสื่อม
Dementia: diagnosis and treatment
รศ.นพ.กองเกียรติ กูณฑกันทรากร
ภาวะสมองเสื่อม(dementia) เปนความผิดปกติของสมองที่พบไดบอ ยในผูสูงอายุ โดยมีโรค
หลายชนิดที่เปนสาเหตุของกลุมอาการนี้ โรคที่พบบอยไดแก โรคอัลซไฮเมอร และโรคสมองเสื่อม
เหตุหลอดเลือด เนื่องจากสัดสวนประชากรสูงอายุที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต ภาวะนี้จึงมีความสําคัญ
มากขึ้นเพราะกอใหเกิดความเสียหายตอครอบครัว สังคม และเศรษฐกิจของชาติ ดังนัน้ ความรูความ
เขาใจในการปองกันและรักษาโรคนี้จึงมีความสําคัญอยางยิง่ โดยเฉพาะในระดับแพทยท่วั ไป และ
แพทยเฉพาะทางที่ดูแลผูสูงอายุ ในชวงทศวรรษที่ผา นมามี ความกาวหนาในดานการวินจิ ฉัยโรคและ
การรักษามากมาย ซึ่งองคกรตางๆ ไดมกี ารวิเคราะห สรุป และจัดทําเปนแนวทางการรักษาโรคขึ้น
หลายฉบับเพื่อใหแพทยไดใชในเวชปฏิบตั ิ อยางไรก็ตามแนวทางเหลานี้จะมีความแตกตางกันอยูบา ง
ซึ่งแพทยควรจะประยุกตใชใหถกู ตองในผูปว ยแตละราย
โรคอัลซไฮเมอร (Alzheimer’s disease) เปนสาเหตุที่พบบอยที่สุดของกลุมอาการสมองเสื่อม
(dementia) โรคนี้เกิดจากความเสื่อมของเซลลประสาทในสมอง โดยเชื่อวานาจะเกิดจากปจจัยทาง
พันธุกรรมรวมกับปจจัยสิ่งแวดลอม อุบตั ิการณของโรคนี้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามอายุของผูปว ยโดยเพิ่มขึน้
เปนสองเทาทุก ๆ 5ป ของอายุที่เพิ่มขึ้นจาก 60 ป(1) มีการประมาณการวาอาจมีผูปวยถึงรอยละ 10 ของ
ประชากรที่มีอายุมากกวา 65 ป ในสหรัฐอเมริกา(2) และมีคาใชจายในการดูแลผูปวยถึง 35,287
ดอลลารสหรัฐตอรายตอป(3) ในประเทศไทยเองมีการศึกษาถึงความชุกของภาวะสมองเสื่อมในชุมชน
โดยพบประมาณ 9.88 รายตอประชากร100 คนที่มีอายุมากกวา 60 ป (4)

การวินิจฉัย
ผูปวยภาวะสมองเสื่อมมักมีอาการหลักอยู 2 กลุม คือปญหาดานความจํา และปญหาดาน
พฤติกรรมหรืออารมณ ผูปว ยในระยะแรกอาจไมสังเกตวาเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น แตญาติหรือผูดูแล
จะสามารถใหขอมูลเหลานี้ไดดีกวา การวินจิ ฉัยยังคงใชการซักประวัติ และการตรวจรางกายเปนหลัก
รวมกับการประเมินการทํางานของสมอง เชน MMSE หรือ TMSE เพื่อยืนยันถึงการวินจิ ฉัยภาวะของ
สมองที่เสื่อมถอยลงเรื่อย ๆ จนมีผลตอสติปญ
 ญา อารมณ การตัดสินใจ การดําเนินชีวติ ประจําวัน อาชีพ
และสังคมในที่สุด ซึ่งในขัน้ นี้จะตองแยกภาวะเพอ (delirium) ซึมเศรา (depression) หรือผลของยาตอ

จิตประสาทออกไปกอน แพทยจึงควรใหความสนใจถึงลักษณะที่จะบงชี้ถึงรอยโรคเฉพาะที่อาการ
แสดงทาง extrapyramidal ความผิดปกติของการเดิน และอาการพิเศษอื่น(5) เชน ชัก ปวดศีรษะ กลั้น
อุจจาระ ปสสาวะไมอยู คอแข็ง ความดันในโพรงกะโหลกศีรษะสูง ฯลฯ
อยางไรก็ตามการวินิจฉัยโรคอัลซไฮเมอร นั้นมักตองแยกโรคในกลุมที่รกั ษาไดขางตนออกไป
กอน และมักมีลักษณะการดําเนินโรคที่จําเพาะซึ่งชวยในการวินิจฉัยโรคไดจากประวัติโดยละเอียด
ผูปวยมักมีอาการแบบคอยเปนคอยไป สวนใหญมกั ไมทราบวาตนเองเริ่มมีปญ
 หาดานความจํา
จนกระทั่งเกิดอาการเฉียบพลันใหเห็นวามีความผิดปกติรุนแรงขึ้น เชน หลงทาง เกิดอุบตั ิเหตุ ญาติ
สงสัยวาจะเปนโรคนี้ หรือมีอาการสับสนเฉียบพลันหลังปวยดวยโรคอื่น หรือเกิดหลังผาตัด ฯลฯ
นอกจากนั้นผูปว ยมักมีความผิดปกติอนื่ รวมดวย เชน คิดคํานวณผิดปกติ ซึมเศรา กระวนกระวาย
พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง หรือมีอาการทางจิตประสาทอื่นๆ(6,7)
จากนัน้ จึงจะทําการตรวจวินจิ ฉัยเพิ่มเติม เพื่อแยกโรคที่อาจมีอาการคลายกันออกไป ซึ่งโรค
กลุมนี้มกั ตองการการรักษาทีจ่ ําเพาะและมีการพยากรณโรคที่ดีกวา (reversible dementia) ที่ตางจากโรค
ที่เกิดจากความเสื่อมของระบบประสาท (neurodegenerative diseases)
สาเหตุของภาวะสมองเสือ่ มที่รักษาไดผลดี
ตัวอยางของสาเหตุที่พบบอยของภาวะสมองเสื่อมที่รักษาไดผลดีไดสรุปในตารางที่ 1. ใน
อดีต อุบัติการณของโรคดังกลาวมีคอนขางสูงถึงรอยละ 23 ในกลุมที่รักษาแลวดีขนึ้ บางสวน และรอย
ละ 10 ในกลุมที่รกั ษาแลวดีขนึ้ จนเปนปกติ ซึ่งสาเหตุท่พี บบอยที่สุดคือ โรคซึมเศราและผลขางเคียง
จากยา ตามดวยโรคทางเมตาบอลิสมและโรคทางประสาทศัลยศาสตร อยางไรก็ตามการตรวจเพิ่มเติม
ความรูค วามเขาใจและการมีเกณฑมาตรฐานในการวินิจฉัยสมองเสื่อม ทําใหอบุ ตั ิการณของโรคกลุมนี้
ลดลงเหลือนอยกวารอยละ 1 ในชวงทศวรรษที่ผานมา(8)

ตารางที่ 1 สาเหตุที่พบบอยของภาวะสมองเสื่อมที่รักษาไดผลดี
• Neurosurgical: normal pressure hydrocephalus, obstructive hydrocephalus,
subdural hematoma, brain tumor
• Nutritional: vitamin B12 deficiency, folate deficiency, vitamin B1 deficiency
• Endocrine disorders: hypothyroidism, parathyroid and adrenal disorder
• Metabolic: hyponatremia ,hypoxia, hepatic or uremic encephalopathy
• Alcoholism and drug abuse
• Drug toxicity :benzodiazepines, anticholinergics, antihypertensives
• Vasculitis and vascular dementia
• Psychiatric: major depression
• Infection: AIDS encephalopathy, neurosyphilis, cerebral cysticercosis
• Sleep disorders: obstructive sleep apnea syndrome, narcolepsy
ดัดแปลงมาจากเอกสารอางอิงที่ 6 และ 7

การตรวจทางหองปฏิบัติการ
การตรวจทางหองปฏิบัตกิ ารเบื้องตน
แนวทางมาตรฐานของประเทศนั้นไดแนะนําใหตรวจเพิ่มเติมตามตารางที่ 2 ในผูปวยที่สงสัย
ภาวะสมองเสื่อมทุกราย และสงตรวจเพิ่มเติมตามตารางที่ 3 ในกรณีตามที่มขี อบงชี้ตามหมายเหตุ(7)
ตารางที่ 2 การตรวจทางหองปฏิบัตกิ ารเบื้องตน(7)
• CBC (ตองดู red cell morphology และมองหา hypersegmented neutrophils ดวย)
• Serum electrolyte
• Glucose
• BUN/creatinine
• Liver function tests
• Thyroid function tests (ขึ้นกับความสามารถของการตรวจที่ทําได แตถาเปนไปได
ควรตรวจหา TSH ดวย)
• Screen for syphilis (VDRL หรือ treponemal test อื่นที่สามารถทําได)
หมายเหตุ การตรวจเพิ่มเติมอาจจะเลือกใชในกรณีท่มี ขี อบงชี้

ตารางที่ 3 การตรวจทางหองปฏิบัตกิ ารเพิ่มเติม(7)
การตรวจคนเพิ่มเติม
Neuroimaging
Structure
Functional
Metabolic
Anti HIV

หมายเหตุ
ดูตารางที่ 4 ขอบงชีใ้ นการตรวจ CT scan
CT, MRI
MRI, nuclear SPECT, PET scan
MRI, nuclear SPECT, PET scan
เมื่อมีขอสงสัยหรือขอชีบ้ งทางคลินิก

Calcium
Serum B12

เมื่อมีขอชี้บงทางคลินิก
เมื่อมีขอชี้บง ทางคลินิก แตเนื่องจากยังไมมขี อมูลชัดเจนถึงความชุกของปญหาการ
ขาด B12 ในประชากรไทย และยังมีปญหาการสงตรวจที่เชื่อถือได

EEG

EEG จะเปนประโยชนในการชวยวินจิ ฉัยภาวะสมองเสื่อมจากบางโรค เชน
Creutzfeld-Jakob disease

LP and CSF
examination

อาจตองพิจารณาทําถาสงสัย leptomeningeal metastasis, CNS infection, reactive
serum syphilis serology, hydrocephalus, rapidly progressive or unusual dementia,
immunosuppression, CNS vasculitis
Genetic study : สามารถสงตรวจในตางประเทศ
และในระดับโรงพยาบาลตติยภูมิ
Familial AD
:Presenilin และ APP mutations
Familial prion disease : prion gene mutations
Familial FTD
: tau gene mutations
Huntington’s disease, SCA, DRPLA: CAG repeats testing
Mitochondrial disorders : mitochondrial DNA mutations
CADASIL
: notch 3 mutations

Genetic markers

การตรวจนับเม็ดเลือด (CBC) นั้น กระทําเพื่อแยกโรคที่สําคัญออกไป ไดแก chronic anemia
ซึ่งเกิดจากสาเหตุไดหลากหลาย เชน iron deficiency ( มี hypochromic microcytic red blood cells ) ,
Vitamin B12 deficiency (มี macrocytic red blood cells และ hypersegmented neutrophils) สวน Folate

deficiency นั้นพบไดนอยที่กอใหเกิดอาการทางสมองโดยตรงจากโรค ซึ่งจะพบ macrocytic anemia
เชนกัน
การตรวจระดับ electrolytes นั้นมีความสําคัญในผูปว ยที่มอี าการสมองเสื่อมอยางรวดเร็ว ซึ่ง
ตองแยกโรคจากภาวะ delirium สาเหตุที่พบไดบอยที่สุดคือ โซเดียมในเลือดต่ํา(hyponatremia) ซึ่งอาจ
เกิดแบบเฉียบพลัน หรือเรื้อรังก็ได ผูปว ยอาจมีอาการชักรวมดวยหากระดับโซเดียมต่ํากวา 120 mEq/l
สวนการตรวจระดับ BUN และ creatinine จะกระทําเพื่อแยกภาวะ uremic encephalopathy ออก ผูปวย
อาจมีอาการชัก, กลามเนื้อกระตุก, สั่น, asterixis, ซึมลงฯลฯ โดยผูปว ยไตวายเรื้อรังมักมีอาการไมมาก
นักเมื่อเทียบกับผูปวยไตวายเฉียบพลัน
การตรวจการทํางานของตับนั้นจะชวยวินิจฉัยภาวะ hepatic encephalopathy ไดรวมกับอาการ
และอาการแสดงของภาวะตับวาย เชน ตัวเหลือง มีน้ําในทอง ซึมลง มี asterixis ฯลฯ ซึ่งตองใหการ
รักษาจําเพาะตอสาเหตุของตับวาย
และให lactulose รวมดวย เพื่อบรรเทาอาการ hepatic
encephalopathy
สวนการตรวจการทํางานของตอมธัยรอยดนั้น จะกระทําเพื่อตรวจหาภาวะ
hypothyroidism ซึ่งพบไดบอ ยในผูสูงอายุ โดยมักมีอาการไมมากนัก และไมจําเพาะเชน ซึมเศรา งวง
นอน คิดชาลง พฤติกรรมเสื่อมถอย ฯลฯ การตรวจคัดกรองที่ดีท่สี ุดคือ การตรวจ ระดับ TSH และอาจ
ตรวจระดับฮอรโมน T4 หรือ T3 เพื่อเติมถาจําเปน
การตรวจอื่นๆ เชน ระดับน้ําตาลในเลือด และ ระดับไขมันในเลือดนัน้ เปนการตรวจคัดกรอง
ปจจัยเสี่ยงตอภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis) โดยเฉพาะหากสงสัยภาวะสมองเสื่อมจาก
โรคหลอดเลือดสมอง หรือเกิดอาการสมองเสื่อมอยางรวดเร็ว
คําแนะนําของประเทศไทยนั้นมีความแตกตางจากมาตรฐานของตางประเทศเล็กนอย เชน การ
ตรวจระดับวิตามิน บี 12 นั้น ไมแนะนําใหทาํ ในผูปว ยทุกรายเนื่องจากปญหาการขาดวิตามินบี 12 ใน
ประชากรไทยนั้นไมชัดเจน(9) และมีปญหาในการสงตรวจที่เชื่อถือได
ซึ่งตางจากคําแนะนําใน
สหรัฐอเมริกาที่ตองตรวจทุกรายถึงแมวาจะพบอุบัติการณไมมากนัก(10)
สวนการตรวจการติดเชื้อซิฟล ิสนั้นควรตรวจทุกรายในประเทศไทยเนื่องจากมีอุบตั กิ ารณของ
โรคซิฟลิสระบบประสาท (Neurosyphilis)ในกลุมประชากรสูงอายุ สูงกวาตางประเทศ ซึ่งทาง
สหรัฐอเมริกาจะแนะนําใหตรวจเฉพาะผูท่มี ปี จ จัยเสี่ยง เคยติดเชื้อมากอน หรืออยูในที่ท่มี โี รคชุกชุม(10)
การตรวจทางประสาทรังสีวิทยา
แนวทางการรักษาของประเทศแถบตะวันตก และสหรัฐอเมริกานั้นแนะนําใหตรวจทุก
รายโดยอาจใช CT brain หรือ MRI brain ก็ได(10) แตเนื่องดวยขอจํากัดทางดานเครื่องมือ และ

งบประมาณ แนวทางในประเทศไทยจึงแนะนําใหตรวจเพือ่ มีปจ จัยอื่น รวมดวยอยางนอย 1 ปจจัย
ตามที่แสดงในตารางที่ 4
ตารางที่ 4 ขอบงชี้ในการสงตรวจ CT Scan(7)
A cranial CT scan is recommended if 1 or more of the following criteria are present
• Age less than 60 years
• Rapid (e.g. over 1 or 2 months) unexplained decline in cognition or function
• “Short” duration of dementia (less than 2 years with reliable history)
• Recent and significant head trauma
• Unexplained neurologic symptoms (e.g., new onset of severe headache or seizures)
• History of cancer (especially in sites and type that commonly metastasize to brain)
• Use of anticoagulants or history of bleeding disorders
• History of urinary incontinence and gait apraxia early in the course of dementia (as may be found
in normal pressure hydrocephalus)
• Any new localizing sign (e.g., hemiparesis or Babinski’s sign)
• Unusual or atypical cognitive symptoms or presentation (e.g. progressive aphasia)
• Gait apraxia

ดังนั้นการตรวจ CT หรือ MRI scan จึงควรกระทําในผูปวยที่มีอาการสมองเสื่อมอยางรวดเร็ว
หรือ ผูปวยมีอายุนอยกวา 60 ป เพื่อแยกโรคทางประสาทศัลยศาสตรออกไป เชน chronic subdural
hematoma ซึ่งมักพบในผูสูงอายุโดยอาจมีหรือไมมปี ระวัตอิ ุบตั ิเหตุทางศีรษะรวมดวย ในผูปว ยที่มี
ปจจัยเสี่ยงทางหลอดเลือดแดงแข็ง ควรสงสัยโรคหลอดเลือดสมองตีบ ซึ่งเปนไดทั้งสาเหตุ และ
ภาวะแทรกซอนของสมองเสื่อม สวนผูท่ไี ดรับยาตานการแข็งตัวของเลือด หรือมีความผิดปกติของ
เลือด ควรสงสัยภาวะเลือดออกในเนื้อสมอง (intracerebral hemorrhage) หรือ subdural hematoma
ผูปว ยที่มอี าการอื่นรวมดวยในชวงแรกของภาวะสมองเสื่อม เชน กลั้นปสสาวะไมอยู เดินผิดปกติโดย
ทรงตัวไมอยู ควรสงสัยโรค normal pressure hydrocephalus ซึ่งใน CT/MRI scan จะพบวาขนาดของ
ventricle ใหญขนึ้ มากเมื่อเทียบกับเนื้อสมองที่ยังมีปริมาณปกติ แพทยควรทําการเจาะหลังเพื่อตรวจน้ํา
ไขสันหลัง และวัดความดันน้ําไขสันหลังดวย ซึ่งผูปว ยมักมีอาการดีขนึ้ หลังจากเจาะหลัง หากแพทย

สงสัยภาวะนี้ควรสงตอใหประสาทศัลยแพทยประเมินอีกครั้ง เพื่อพิจารณาใสสายระบายน้ําไขสันหลัง
(shunt) ตอไป
อยางไรก็ตามโรคทางประสาทศัลยศาสตรนี้พบไมบอย หากผูปวยไดรับการตรวจรางกายอยาง
ละเอียดและถูกตอง ในกลุมผูปวยที่อายุมากกวา 60 ป ที่มีอาการสมองเสื่อมอยางชาๆ โดยไมมีอาการ
เฉพาะที่ ชัก การเดินหรือเคลื่อนไหวผิดปกติ ผลการตรวจทางรังสีวิทยามักจะไมพบความผิดปกติที่
สําคัญ งานวิจยั กอนหนานี้ไดยนื ยันวาไมจําเปนตองสงตรวจ CT brain ในผูปว ยที่มลี ักษณะทางคลินกิ
เขาไดกับโรคอัลซไฮเมอร (8)
การใชเทคนิคพิเศษเพื่อวัดขนาดของ medial temporal lobe หรือ สมองสวนที่เกี่ยวของกับ
โรคอัลซไฮเมอร โดย MRI หรือ CT เพื่อการวินจิ ฉัยโรคนีน้ ั้นไมแนะนําใหใชเวชปฏิบตั ิท่วั ไป แตเริ่มมี
ขอมูลมากขึ้น ในทางวิจยั เพื่อตรวจดูการเปลี่ยนแปลงของโรค และติดตามการฝอของสมอง สวนการใช
เทคนิคทางเวชศาสตรนิวเคลียร เชน Single Photon emission tomography (SPECT) หรือ Positron
emission tomography (PET) นั้น ก็ไมแนะนําใหใชทางเวชปฏิบตั ิเชนกัน เนื่องจากมีราคาแพง ไมมใี ช
แพรหลาย และความถูกตองในการวินจิ ฉัยยังไมดีกวาการใชเกณฑมาตรฐานทางคลินกิ อยางชัดเจน
ถึงแมวาจะเริ่มมีการใชในเชิงวิจยั เพื่อวินิจฉัยแยกโรคระหวางโรคอัลซไฮเมอร และโรคสมองเสื่อมชนิด
อื่นๆ
ปจจุบนั เริ่มมีการใช MRI และ PET เพื่อใหการวินจิ ฉัยโรคไดรวดเร็วขึน้ ในผูปว ยที่ยังมีอาการ
ไมมากนัก เชน กลุม mild cognitive impairment (MCI) หรือ โรคอัลซไฮเมอรระยะแรก และนําผลไป
ใชเพื่อหาหนทางรักษาโรคตั้งแตเนิน่ ๆ อยางมีประสิทธิภาพในอนาคต(11) โดยการวัดขนาดของ
hippocampus ที่เปลี่ยนแปลง ปริมาณของสาร amyloid ที่สะสมในสมอง เมทาบอลิสมของสมองใน
บริเวณตางๆ ฯลฯ(12)
การตรวจอื่นๆ
เนื่องจากโรคซึมเศราในผูสูงอายุนนั้ พบไดบอ ยรักษาไดผลดี และอาจเกิดรวมกับโรคอัลซไฮ
เมอรหรือไมก็ได จึงควรมีการตรวจคัดกรองโดยใชการสัมภาษณทางคลินกิ หรือแบบคัดกรอง
มาตรฐาน เชน Geriatric depression scale หรือ Hamilton Depression scale(10)
สวนการตรวจเลือดเพื่อหายีนที่ผดิ ปกติของโรค Diffused Lewy body และ Crutzfeldt Jakob
disease (CJD) นั้นไมแนะนําใหกระทํา เชนเดียวกับการตรวจ APOE genotype, tau mutations และ
genetic marker อื่นๆ ในการวินิจฉัยโรคอัลซไฮเมอร การตรวจโปรตีน 14-3-3 ในน้ําไขสันหลังนั้นอาจ

ชวยในการยืนยันหรือแยกโรค CJD ออกไดในกรณีทเี หมาะสม แตควรระวังผลบวกลวงทีพ่ บไดในโรค
อื่น เชน เลือดออกในสมอง โรคอัลซไฮเมอร และ แคลเซียมในเลือดสูง(13)
การตรวจคลื่นไฟฟาสมองนั้นจะมีประโยชนในกรณีท่สี งสัยโรค CJD ที่มักพบ periodic sharp
wave complexes แตจะไมพบใน variant CJD ที่เกิดในผูปว ยอายุนอย (11) หากพบความผิดปกติเฉพาะที่
ในคลื่นไฟฟาสมองควรสงสัยพยาธิสภาพในสมองในตําแหนงนั้นๆ เชน ฝในสมอง โรคหลอดเลือด
สมอง หรือเนื้องอก หากพบความผิดปกติทั่วไป หรือคลื่นสมองมีความถี่ลดลงควรสงสัยโรคทางเมตา
บอลิสม หรือ ผลของยาหรือสารพิษ เพราะผูปวยโรคอัลซไฮเมอร ระยะแรก หรือโรคซึมเศรามักมี
คลื่นไฟฟาสมองปกติ

การประเมินผูปวย
ขั้นตอนที่สําคัญทั้งกอนและระหวางใหการรักษาภาวะสมองเสื่อมโดยเฉพาะโรคอัลซไฮเมอร
นั้นคือการประเมินในดานตางๆ 5 ดาน ที่สําคัญ คือ การใชชวี ิตประจําวัน สติปญ
 ญา โรคประจําตัวอื่น
ความผิดปกติของอารมณ และสภาวะของผูดูแล ซึ่งจะกลาวโดยละเอียดตอไป การประเมินนี้ควรกระทํา
อยางนอยทุก 6 เดือนเพื่อเฝาระวังการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามการดําเนินของโรคแลวใหการรักษาที่
เหมาะสมอยางทันทวงที แพทยควรใหความสําคัญถึงญาติหรือผูดูแลดวยที่เปนสวนสนับสนุนสําคัญ
ตอการรักษาและคุณภาพชีวิตของผูปว ย ตลอดจนใหขอมูลเพิ่มเติมเปนระยะตามความเหมาะสม(15)
1. การใชชีวิตประจําวัน(daily function)
เปนการประเมินความพิการของผูปว ยที่เกิดจากโรคและระดับที่ผปู ว ยจะตองพึ่งพาผูดูแล
กิจกรรมพื้นฐาน (Basic Activities of Daily Living) ไดแก การลุกจากเตียง การใชหองน้ํา การลางหนา
แปรงฟน การขับถาย การอาบน้าํ การแตงตัว การขึน้ ลงบันได และการรับประทานอาหาร ซึ่งกิจกรรม
เหลานี้สามารถประเมินไดงา ยโดยใชแบบสอบถามหรือ การสัมภาษณโดยเนนทีร่ ะดับความชวยเหลือที่
ผูดูแลจะตองใหกับผูปว ย
สวนกิจกรรมทีย่ ากขึ้นและตองใชเครื่องมืออื่นประกอบมาก(Instrumental ADL)ผูปวยจึงมักจะ
เกิดความบกพรองขึ้นกอน ไดแกการจายตลาด การประกอบอาหาร การใชโทรศัพท การเดินทาง งาน
บาน การรับประทานยา และการบริหารเงิน ก็สามารถประเมินไดแบบเดียวกัน ในบางครั้งการประเมิน
ผูปวยที่บานอาจชวยในการปรับปรุงสิ่งแวดลอมใหเหมาะสมขึ้นได เนื่องจากผูปวยสมองเสือ่ มใน
ประเทศไทยมักอยูท่บี า นมากกวาบานพักคนชรา ซึ่งคลายกับประเทศญี่ปนุ (16)
2. สติปญญา (cognition)

เปนสวนสําคัญในการประเมินความรุนแรงของโรคและผลการรักษาทีใ่ ห ซึ่งสามารถทําไดงาย
โดยใชแบบประเมินมาตรฐานเชน Mini-Mental State Examination (MMSE) หรือ Thai Mental State
Examination (TMSE) แบบทดสอบนี้ใชประเมินผูปว ยเปนระยะๆได โดยมีคะแนนเต็ม 30 คะแนน จาก
ดานตางๆ เชน การรับรู ความจําระยะสั้น สมาธิ การคํานวณ ภาษา และมิติสัมพันธ ผูท่มี คี ะแนนต่ํากวา
23 ควรสงสัยภาวะสมองเสื่อม แตการแปลผลควรจะตองคํานึงถึงระดับการศึกษาและอายุดวย
โดยทั่วไปผูปว ยโรคอัลซไฮเมอร จะมีคะแนนลดลง 3-4 คะแนนตอป หากลดลงมากกวานี้ ควรสงสัย
ภาวะอื่นแทรกซอน สวนการใชแบบทดสอบ Alzheimer ‘s disease assessment scale (ADAS) ในสวน
cognitive subscale นั้นมักจะใชในงานวิจยั เทานั้น ในบางครั้งหากแพทยไมมน่ั ใจในการวินิจฉัย ควรสง
ผูปวยไปทดสอบทางประสาทจิตเวช (Neuropsychological test) เพื่อแยกโรคอัลซไฮเมอร จากภาวะ
ปกติตามอายุ หรือโรคซึมเศรา
3. โรคอื่นๆ ที่เกิดรวมดวย
ผูปว ยสูงอายุเหลานี้มกั มีโรคประจําตัวอื่นรวมดวย ซึ่งตองไดรับการรักษาใหพรอมกัน เชน
โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคไต โรคขอ ฯลฯ แพทยจึงควรเฝาระวังถึงผลขางเคียงและปฏิกิริยาระหวาง
กันของยาที่อาจเกิดขึ้น ผูปว ยอาจไมสามารถตัดสินใจเกี่ยวกับการรักษาไดถกู ตอง แพทยและผูดูแลจึง
ควรปรึกษากันเพื่อประโยชนของผูปว ยเปนสําคัญ
4. ความผิดปกติของอารมณและพฤติกรรม
ในระหวางการดําเนินโรคผูปวยมักเกิดอาการทางอารมณและปญหาทางพฤติกรรมใหมๆขึ้นได
ซึ่งมักกอใหเกิดปญหากับผูดูแล และความปลอดภัยของผูปวย การใหการรักษาทางยาและไมใชยา
รวมกันจึงมีสวนสําคัญมาก อาการที่พบบอยไดแก อาการกระวนกระวาย (Agitation) ประสาทหลอน
(Psychosis) ซึมเศรา (depression) วิตกกังวล(anxiety) เฉยเมย (apathy) พฤติกรรมกลางคืน(night time
behaviors) ฯลฯ การประเมินโดยใชแบบสอบถาม เชน Neuropsychiatric inventory (NPI) หรือ
สัมภาษณถึงอาการเหลานี้จะชวยแพทยไดมาก อยางไรก็ตามอาการเหลานี้อาจเกิดเปนชวงๆ และ
หายไปไดเอง แพทยจึงควรประเมินถึงการรักษาทีใ่ หเปนระยะๆ เนื่องจากยาบางชนิด เชน ยาตานโรค
จิต อาจมีผลขางเคียงรุนแรงถึงแกชวี ติ ไดจึงควรใชเพียงระยะสั้นๆ(17)
5. การประเมินผูด ูแล
สุขภาพทั้งทางกายและใจของผูด ูแลเปนสิ่งที่สําคัญอยางยิ่งตอการรักษาผูปว ย มีการศึกษาพบวา
ผูดูแลมีความเสี่ยงสูงตอภาวะซึมเศรา และการเจ็บปวยอื่นๆ เมื่อเทียบกับบุคคลอื่นๆ ที่ไมไดทาํ หนาที่นี้
(18)
ดังนั้นแพทยควรคํานึงถึงปญหาที่อาจจะเกิดขึ้นนี้ หนวยงานอื่นๆ เชน หนวยสังคมสงเคราะห สถาน
ดูแลผูปวยเวลากลางวัน และพยาบาลเยี่ยมบาน นาจะมีสวนชวยในการบรรเทาภาระไดบาง อีกประเด็น

ที่สําคัญ คือ ปจจัยดานศาสนา และวัฒนธรรมในแตละทองถิ่นที่จะสงผลถึงการดูแล และการตัดสินใจ
ในเรื่องสําคัญตางๆ

การรักษา
การรักษาภาวะสมองเสือ่ มโดยไมใชยา
ในการดูแลรักษาผูปวยภาวะสมองเสื่อมนั้น ควรจะไดรับการรักษาแบบประคับประคองที่ดี
เนื่องจากโรคสวนใหญ มักจะเกิดจากความเสื่อมของสมอง ซึ่งมักจะหยุดยั้งการดําเนินโรคไมได การ
เสียชีวิตของผูปวยไมไดเกิดจากการเสื่อมของสมองโดยตรงแตมักเกิดจากภาวะแทรกซอนที่เกิดขึ้น
ผูปว ยมักจะมีปญ
 หาทางพฤติกรรมหลายชนิด ซึ่งสามารถรักษาและควบคุมไดดว ยยา และการรักษา
โดยไมใชยารวมกัน
ภาวะสับสนและประสาทหลอน
สิ่งที่สําคัญอันดับแรกในการรักษา คือ การหาสาเหตุของพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจากปจจัย
อื่นๆ เชน การติดเชื้อ ปญหาโรคทางกาย ความเจ็บปวด ยา หรือ พยาธิสภาพอื่นในสมอง ฯลฯ และ
แกไขตามสาเหตุกระตุนนั้นๆ นอกจากนั้นแลวปจจัยภายนอกเชน อุณหภูมทิ ่เี ปลี่ยนแปลง เสียงดัง
การใชอุปกรณยึดตรึงผูปว ย ก็อาจกระตุนใหอาการดังกลาวเปนมากขึ้นได
จากนัน้ จึงพิจารณาถึงอาการแสดงของผูปว ยโดยรวมวา จําเปนตองใชยาเพื่อควบคุมหรือไม
และใชการรักษาโดยไมใชยารวมกันไปดวย
การรักษาโดยไมใชยาที่ควรจะกระทําตามขั้นตอนคือการอธิบายใหผปู ว ยเขาใจถึงสถานการณ
อยางชาๆ พยายามทําความเขาใจถึงอารมณของผูปว ย ปลอบประโลมใหผปู ว ยสงบลง ไมควรจะ
ทะเลาะหรือขัดแยงกับผูปวย โดยพยายามเบี่ยงเบนความสนใจไปหาสิ่งอื่นแทน
หากแพทยผูรักษาสามารถหาสาเหตุและควบคุมอาการดังกลาวได ผูปวยจะสงบลงพฤติกรรม
ตางๆ จะกลับมาสูสภาวะเดิมได
ภาวะกระวนกระวาย อารมณแปรปรวน
หลักการรักษาจะเปนตามหัวขอขางตน คือการหาสาเหตุและแกไขเหตุกระตุนนั้นๆ ในระยะ
ยาว การปรับพฤติกรรมของผูปว ยจะมีสวนชวยอยางยิ่งตอการดูแลของญาติ เชน ออกกําลังกายเบาๆ
พยายามใหผูปวยทํากิจกรรมตางๆ ที่เคยทําไดตอไปใหนานที่สุดโดยคํานึงถึงความปลอดภัยรวมดวย

การจัดใหผูปวยมีตารางเวลาในการทํากิจกรรมตางๆ อยางสม่ําเสมอทุกวัน เชน จัดเวลาเขาหองน้ําหลัง
อาหาร, รับประทานอาหาร,และดื่มน้ําตามเวลา, เวลาตื่นและเขานอน, ปรับหองใหเปนระเบียบเรียบงาย
และปลอดภัย
การใชการบําบัดวิธีอื่นรวมดวยอาจชวยได เชน การใชดนตรีเบาๆ ลดอาการกระวนกระวาย
ของผูปว ย พูดคุยกับผูปว ยรายบุคคล และอาจใชญาติผปู ว ยเขารวมกิจกรรมที่ผปู ว ยกระทํา นอกจากนี้
ยังมีการวิจยั ที่ใชการสัมผัส นวดเพื่อผอนคลาย การใชสัตวเลี้ยงบําบัด การปรับแสง – เสียงของ
สิ่งแวดลอมตามที่ผูปวยชอบ ควรจะหลีกเลี่ยงการใชอปุ กรณยึดตรึงผูปว ย เพราะจะทําใหผปู ว ยตอตาน
และกระวนกระวายมากขึ้นอีก
การรักษาภาวะความจําเสือ่ มและการปฏิบตั ติ วั ในชีวติ ประจําวัน
ผูปว ยกลุมนี้มกั จะมีสมาธิส้นั จึงควรแบงกิจกรรมเปนชวงสั้นๆ สลับกับพัก ในระยะแรก
ผูปวยยังคงมีอารมณ ความรูสึก เหมือนกับคนปกติ จึงสามารถแนะนําและชวยเหลือเทาที่จําเปน ซึ่ง
อาจกระทําไดโดย ทําปายเตือน หรือสิ่งชวยจําเพื่อกระตุนใหผปู ว ยทํากิจกรรมนัน้ ๆ การชวยเริ่มตน
กิจกรรมใหและใหผูปวยทําตอจนจบ หากผูปวยมีปญหาทางภาษามากขึ้น ควรจะใชภาษาที่ใชศัพท
งายๆ พูดสั้นๆ หรือสื่อความหมายโดยไมตองใชภาษาแทน
มีการศึกษาพบวาการฝกความจําเพื่อฟนฟูทกั ษะในชีวิตประจําวันทีจ่ ําเปน จะชวยใหผปู ว ยเกิด
ความมั่นใจ ควบคุมอารมณไดดีขึ้น และสามารถเขาสังคมไดตามปกติ การฝกแบบสหสาขา
(Multidisciplinary group) จะชวยพัฒนาความสามารถหลายๆ แงมมุ พรอมๆ กัน นอกจากนัน้ แลว การ
ปรับสิ่งแวดลอมดังกลาวขางตนจะชวยใหผปู ว ยใชชวี ิตประจําวันไดสะดวกและปลอดภัยขึน้ เมื่อผูปว ย
มีการดําเนินโรคมากขึ้น จะเกิดปญหาทางการใหอาหาร ผูปว ยมักจะกลืนลําบาก ปฏิเสธอาหารหรือ
ใชชอนสอมไมได ในดานการใชสายเพื่อใหอาหารผานทางจมูก หรือกระเพาะอาหารนั้น ควรจะ
คํานึงถึงทั้งประโยชน และโทษ ตลอดจนความประสงคของผูปว ยและญาติเปนสําคัญ เนื่องจาก ยังไมมี
หลักฐานชัดเจนของประโยชนในการใหอาหารทางสาย ในผูปว ยสมองเสื่อม
การรักษาโดยการใชยา
การรักษาจําเพาะโรค
Cholinesterase inhibitors

ยาในกลุมนี้เปนยากลุมแรกที่ไดรับการยอมรับจากองคการอาหารและยาในประเทศตาง ๆ ทั่ว
โลก ในการรักษาโรคอัลซไฮเมอรในระยะเริ่มแรกถึงปานกลาง ซึ่งมีอยู 4 ชนิดในปจจุบัน คือ Tacrine,
Donepezil , Rivastigmine และ Galantamine ปจจุบันยา Tacrine ไมมใี ชแลวเนื่องจากมีพษิ ตอตับ
และตองใหยาหลายครั้งตอวัน
ยาในกลุมนี้บางชนิดยังมีขอบงชี้นอกเหนือจากโรคอัลไซเมอร เชน Rivastigmine สามารถ
ใชไดในภาวะสมองเสื่อมผูปว ยโรคพารกินสัน(19,20) Donepezil ในภาวะสมองเสื่อมรุนแรง(21) และ
Galantamine ในโรคอัลซไฮเมอรที่มีโรคหลอดเลือดสมองรวมดวย(22)
รายละเอียดของยาแตละชนิดไดสรุปอยูในตารางที่ 5
ตารางที่ 5 เภสัชวิทยาของยาที่ใชรักษาภาวะสมองเสื่อม*
Characteristic
Donepezil
Rivastigmine
Galantamine
Memantine
Time to maximal serum 3-5
0.5-2
0.5-1
3-7
concentration (hr)
Absorption affected by No
Yes
Yes
No
food
Serum half-life (hr)
70-80
2†
5-7
60-80
Protein binding (%)
96
40
0-20
45
Metabolism
CYP2D6, CYP3A4 Nonhepatic
CYP2D6, CYP3A4 Nonhepatic
Dose (initial/maximal) 5 mg daily /
1.5 mg twice daily / 6 4 mg twice daily / 5 mg daily /
10 mg daily
mg twice daily
12 mg twice daily 10 mg twice daily
Mechanism of action
Cholinesterase
Cholinesterase
Cholinesterase
NMDA-receptor
inhibitor
inhibitor
inhibitor
antagonist
* CYP2D6 denotes cytochrome P-450 enzyme 2D6, CYP3A4 cytochrome P-450 enzyme 3A4, and NMDA Nmethyl-D-aspartate.
† Rivastigmine is a pseudo-irreversible acetylcholinesterase inhibitor that has an eight-hour half-life for the
inhibition of acetylcholinesterase in the brain.

(ดัดแปลงจากเอกสารอางอิงที่ 23)
กลไกหลักของยากลุมนีค้ ือยับยั้งการทําลายของ Acetylcholine ที่ระดับเอนไซม
Acetylcholinesterase จึงเพิ่มระดับของสารนีใ้ นสมองขึ้น จากเดิมที่ลดลงเนื่องจากเซลลประสาทที่ตาย
ไป นอกจากนั้นพบวายานี้อาจมีผลตอการ amyloid precursor protein และยับยั้ง apoptosis

การศึกษาผลของยาเหลานี้มกั เปนการศึกษาระยะสั้นประมาณ 6 เดือน - 1 ป โดยแสดงถึง
ประโยชนตอระดับสติปญ
 ญาที่วดั โดย Alzheimer’s disease Assessment Scale ( ADAS-Cog) ลด
อาการทางจิตเวชและมีผลที่ดีโดยรวมตามการประเมินจากแพทยและผูดูแล
การใชยากลุมนีจ้ ะตองคอย ๆ เพิ่มขนาดขึน้ ชา ๆ ในเวลาประมาณ 1 เดือนจนถึงระดับที่มี
ประสิทธิภาพ แพทยอาจจะเพิ่มยาขึน้ ไดเพื่อหวังประโยชนหรือประสิทธิภาพที่สูงขึ้นแตควรระวัง
ผลขางเคียงที่พบมากขึ้นเชนกัน
ผลขางเคียงที่พบบอยไดแก คลื่นไส อาเจียน ทองเสีย เวียนศีรษะและเบื่ออาหาร ซึ่งมักจะเกิด
การปรับขนาดยา ผูปว ยสวนใหญมกั จะทนตอยาไดดขี ึ้น เมื่อใหรับประทานยาพรอมอาหาร ดื่มน้ําตาม
และอาจใชยาแกคลื่นไส เชน Domperidone รวมดวย(24)
ประสิทธิภาพของยากลุมนี้มกั เห็นไดชดั เมื่อรับยาไป 2 – 3 เดือน และยังคงแตกตางจากกลุมที่
ไดรับยาหลอกไปตลอดระยะเวลาที่ทาํ การศึกษา อยางไรก็ตามเมื่อติดตามผูปว ยในระยะเวลาที่นานขึ้น
ผูปว ยจะมีอาการที่แยลงจากจุดที่เริ่มยาซึ่งเปนไปตามธรรมชาติของโรค แตจะมีอัตราการเสื่อมที่ลดลง
จากปกติ ซึ่งอาจเปนผลของยาที่มีตอ การดําเนินโรคใหชาลง (25)
เนื่องจากยาแตละตัวมีเภสัชจลนศาสตรท่แี ตกตางกัน จึงควรระมัดระวังเมื่อใชรวมกับยาอื่นที่มี
ผลตอระบบเอนไซม Cytochrome P 450 ทําใหเกิดปฏิกิรยิ าระหวางกันกับยาอื่นไดงา ย โดยเฉพาะ
Donepezil และ Galantamine นอกจากนัน้ แลวควรหลีกเลี่ยงยาที่มีผลตอระบบ acetylcholine เชน
tricyclic antidepressant, anticholinergic drugs ฯลฯ ที่จะทําประสิทธิภาพของยากลุมนี้ลดลงมาก
จากการวิเคราะหถงึ ขอมูลจากการวิจยั หลายการวิจยั พบวา ประสิทธิภาพของยากลุมนี้ไม
แตกตางกันนักในแตละตัว มีผลปานกลางตออาการทางจิตเวช และการดําเนินชีวิตของผูปว ย(26,27) เมื่อ
ทําการวิเคราะหถงึ จํานวนผูปว ยทีต่ องรักษาตอจํานวนทีจ่ ะไดรับประโยชน 1 ราย (Number needed to
treat, NNT) พบวาตองรักษาผูปวย 7 รายตอผูปว ยที่จะมีอาการคงที่หรือดีขึ้น 1 ราย และในทางกลับกัน
เมื่อรักษาผูป วย 12 รายจะพบวามีผลขางเคียง 1 ราย (28) ซึ่งแพทยอาจทํานายไดยากกอนใชยาวา ผูปวย
รายใดจะตอบสนองตอการรักษาหรือไม(27) สวนขอมูลความคุมคาทางเภสัชเศรษฐศาสตรนั้น ยังเปนที่
ถกเถียงกันเนื่องจากขอมูลพื้นฐานดานคาใชจายในแตละประเทศมีความแตกตางกันมาก แตคาดวาใน
ประเทศที่มคี าใชจายเหลานี้สูง นาจะมีความคุมคามากขึ้น
การใชยากลุมนีใ้ นระยะยาวอาจมีผลตอดานคาใชจายและเภสัชเศรษฐศาสตรโดยรวมเนื่องจาก
ทําใหคุณภาพชีวติ ดีขนึ้ ผูปว ยไมตองอยูในสถานที่พกั ฟนคนชรา และผูดูแลใชเวลาเพื่อดูแลผูปว ยลดลง
(29)
แพทยจึงควรพิจารณาการใชยานี้ใหเหมาะสมกับเศรษฐฐานะ และความคุมคาในสังคมไทย

ระยะเวลาของการรักษานัน้ ยังไมเปนที่ชดั เจนนัก เนื่องจากการศึกษาสวนใหญเปนการศึกษา
ระยะสั้นโดยเทียบกับยาหลอก อยางไรก็ตามจากการติดตามผูปวยและประการณการใชยาที่ผานมา
พบวาผูปว ยยังคงไดรับประโยชนจากยาในระยะยาว หากผูปว ยใชยาตัวหนึ่งแลวไมไดผล หรือ มี
ผลขางเคียงสูง อาจพิจารณาเปลี่ยนเปนยาชนิดอื่นในกลุมนีไ้ ด (30) แตไมแนะนําใหใชยาหลายตัวในกลุม
นี้รวมกัน ยากลุมนี้อาจใชรวมกับยาอื่น ๆ เชน Vitamin E หรือ Memantine ได
Memantine
ระบบ glutamate มีผลตอการเรียนรูและความจํา ในภาวะปกติ แตเมื่อมีการตายของเซลล
ประสาทจะเกิดการหลั่งของ glutamate ออกมามากซึ่ง glutamate จะจับกับ NMDA receptor ซึ่งเชื่อวา
มีผลทําใหเซลลประสาทตาย(31) ยานี้มีฤทธิ์เปน N-methyl–D–aspartate (NMDA) antagonist จึงมีผล
ตอระบบ glutamate ซึ่งเปน excitatory neurotransmitter ที่สําคัญในสมอง โดยการปรับการทํางาน
ของระบบ glutamate แบบ non – competitive (channel blocking) แตไมรบกวนการทํางานในภาวะ
ปกติ ซึ่งนาจะมีผลเปน neuroprotection ดวย
การศึกษาในโรคอัลซไฮเมอรพบวาไดผลดีในผูปว ยที่มคี วามรุนแรงสูงโดยวัดจาก ADL
( Functional assessment staging scale ) และ Severe impairment battery (SIB) ยานี้สามารถใชเปนยา
เดี่ยวหรือใชรว มกับยากลุม Acetylcholinesterase inhibitor ได โดยพบวาการใหยารวมกับ Donepezil จะ
มีประสิทธิภาพมากขึน้ กวาการให Donepezil อยางเดียวในผูปวยที่มีอาการรุนแรง(32) โดยชวยลดหรือ
ปองกันอาการกระวนกระวาย กาวราวและการกินอาหารทีผ่ ดิ ปกติได(33) อยางไรก็ตามผลการรักษาก็ยัง
อยูในเกณฑปานกลาง คือผูปว ยมักมีอาการคงที่หรือดีขนึ้ เล็กนอยในแงการใชชวี ติ ประจําวัน พฤติกรรม
และสติปญญา การศึกษายานี้ในผูปวยที่มีอาการของโรคอัลซไฮเมอรนอย – ปานกลาง พบวาไดผลไม
ดีนัก และไมมปี ระโยชนในภาวะสมองเสื่อมเหตุหลอดเลือด(34) ดังนั้นทางองคการอาหารและยา จึง
อนุญาตใหใชยานีใ้ นผูปว ยที่มอี าการรุนแรงเทานั้น
Antioxidants
จากสมมุติฐานเรื่อง oxidative stress ทําใหเซลลประสาทตาย จึงมีการศึกษาขนาดใหญโดยใช
วิตามินอี (alpha tocopherol ) ขนาด 2,000 ยูนิต / วัน และ หรือ Selegiline ขนาด 10 มก./ วัน ซึ่งเปน
Monoamine oxidase – B inhibitor การศึกษานี้พบวา ยาทั้งสองสามารถยืดระยะเวลาที่ผปู ว ยจะเขาสู
จุดยุติ คือ เขาอยูในบานพักคนชรา เสียชีวิต หรือเกิดอาการสมองเสื่อมรุนแรง แตไมมีผลตอระดับ

สติปญ
 ญา จึงเชื่อวายาในกลุมนีน้ าจะมีประโยชนบา ง อยางไรก็ตาม การใหยาสองตัวนี้พรอมกันมีผล
ไมตางจากใหยาอยางใดอยางหนึ่ง ตัวเดียว (35)
ดังนั้นแพทยจึงนิยมใหวิตามินอี ขนาด 2,000 ยูนิต / วัน กับผูปว ยโรคนี้ เนื่องจากมีราคาไมแพง
และมีผลขางเคียงต่ํามาก อยางไรก็ตามการศึกษาทางระบาดวิทยายังมีความเห็นไมตรงกันนักในเรื่อง
antioxidant ในการรักษาโรคหรือผลในการชะลอโรค (36,37)
ยาในกลุมอื่น ๆ
จากการศึกษาทางระบาดวิทยาที่พบวาผูท่ไี ดรับยาในกลุมตานการอักเสบมีโอกาสเสี่ยงตอโรค
นอยกวากลุมควบคุม จึงมีการวิจยั ใชยากลุมนี้หลายชนิด เชน Rofecoxib, Naproxen, Prednisone ในการ
รักษาโรคอัลไซเมอร แตพบวาไมไดผล(38,39) เชนเดียวกับการใหฮอรโมนเพศหญิงเสริม ไมวาจะใช
เปนการรักษาโรคเพื่อปองกันโรคก็ตาม (40,41)
มีการศึกษาในสัตวทดลองโดยการใชวัคซีน A beta กระตุน ใหรางกายสรางภูมคิ ุมกันเพื่อเรง
ขจัด amyloid ในสมองและพบวาไดผล แตเมื่อนํามาใชกบั มนุษยกลับมีผลขางเคียงที่รุนแรง เชน
สมองอักเสบ (encephalitis) ในผูปวยถึงรอยละ 6 จึงตองยุติการศึกษากอนกําหนด อยางไรก็ตามเมื่อ
วิเคราะหถึงผูปวยที่สราง Aβ antibodies ได จะมีการดําเนินโรคที่ชา ลง (42) จึงมีการปรับปรุงวัคซีนขึน้
เพื่อการศึกษาตอไป (43) นอกจากนัน้ ยังมีการศึกษายาหลายชนิด เชน ยาลดไขมัน กลุม Statin เพื่อ
ยับยั้งการสะสมของ Aβ , β – และγ – secretase เพื่อเรงการทําลาย amyloid และชะลอการดําเนิน
โรค ซึ่งขอมูลของการรักษาแนวทางนี้มเี พิ่มขึน้ เรื่อย ๆ ซึ่งแพทยควรจะติดตามตอไป
การรักษาอาการทางจิตเวชโดยใชยา
สามารถแบงไดตามกลุมอาการที่พบบอยไดดังนี้
ภาวะซึมเศรา
เปนกลุมอาการทางจิตเวชที่พบไดบอ ย ทําใหผปู ว ยมีอาการแยลงไดอยางรวดเร็วกวาปกติ
ผูปว ยอาจมีอาการทางกายรวมดวย เชน เบื่ออาหาร นอนไมหลับ รองไหบอ ย แยกตัวจากสิ่งแวดลอม
ฯลฯ ซึ่งแพทยควรใหการวินจิ ฉัย ภาวะนีไ้ ดตั้งแตระยะแรก ๆ และใหการรักษาเพื่อใหผปู ว ยมีคุณภาพ
ชีวิตที่ดีขนึ้ สวนใหญมกั เปนการใชยาตานเศรา ซึ่งมีหลายกลุม เชน กลุม Tricyclic antidepressant
(Amitryptyline, Nortryptyline, Imipramine ) ซึ่งควรระวังในเรื่องผลขางเคียงจากคุณสมบัติ
antocholinergic โดยทําใหโรคอัลไซเมอรเดิมแยลงได ผูปว ยจึงมีอาการสับสนมากขึน้ และอาจมีอาการ

ทางกายอื่นเชน ทองผูก ปสสาวะไมออก ลม ความดันโลหิตต่ํา ฯลฯ ในปจจุบนั จึงนิยมใชยา กลุมใหม
คือ selective serotonin reuptake inhibitor (SSRIs) เชน Trazodone, Fluoxetine, Sertraline, Citalopram ,
Paroxetine ฯลฯ ซึ่งมีผลขางเคียงนอยกวา แตควรระวังในเรื่องปฏิกิริยาระหวางกันของยากับยาเดิมที่
ผูปวยไดรับอยู
ภาวะสับสนและประสาทหลอน
ภาวะนี้พบไดบอ ยในผูปว ยที่มกี ารดําเนินโรคไปคอนขางมาก และทําใหสง ผลตอการดําเนินชีวิตของ
ผูปวยและผูดูแลไดมาก เชน อาการหวาดระแวงกลัวคนมาทําราย ขโมยของ หูแวว เห็นภาพหลอน ฯลฯ
หากแพทยไดตรวจหาสาเหตุอื่นที่กระตุนจากการดังกลาวออกไปแลว อาจพิจารณาใหยารักษา
โดยทั่วไปมักจะใชยาในกลุม antipsychotic ในขนาดต่ํา ๆ เชน Haloperidol ซึ่งควรเริ่มในขนาดที่ต่ํา
กอนเชน 0.25 – 0.5 มก. วันละครั้ง กอนนอนและปรับเพิ่มชา ๆ โดยระวังผลขางเคียงที่สําคัญคือ
parkinsonism และลมงาย จึงมีการใชยา atypical antipsychotic ในกรณีนี้เชน Clozapine , Risperidone,
Olanzapine, Quetiapine ฯลฯ ซึ่งมีผลขางเคียงนอยกวา และยาแตละชนิดควบคุมอาการของผูปวยไดไม
ตางกันนัก แตควรระวังผลขางเคียงจําเพาะของยาแตละชนิด ซึ่งเปนเหตุหลักที่ผูปวยตองหยุดยา(44)
อยางไรก็ตามอาการเหลานี้อาจเกิดเปนชวงๆ และหายไปไดเอง แพทยจึงควรประเมินถึงความจําเปนใน
การใชเสมอ เนื่องจากพบวาผูท่ไี ดยาตานโรคจิต อาจมีผลขางเคียงรุนแรงถึงแกชวี ิตได จึงควรใชเพียง
ระยะสั้นๆเทานั้น(17)
ภาวะกระวนกระวาย
หากจําเปนตองควบคุมอาการกระวนกระวาย กาวราวของผูปวย อาจพิจารณาใชยาในกลุม
antipsychotic ไดหรืออาจใชยาในกลุม Benzodiazepine ที่ออกฤทธิ์สั้นรวมดวย เชน Alprazolam 0.250.5 มก. ตอวัน, Lorazepam 0.5 มก. ตอวัน แตควรระวังเรื่องงวงซึมหรือผูปว ยบางรายอาจมีอาการ
สับสนเพิ่มขึ้นได ในกรณีจําเพาะ การใชยาเพื่อปรับอารมณของผูปวย เชน Propanolol, Carbamazepine,
Sodium valproate อาจชวยได และควรใชรว มกับการรักษาโดยการปรับพฤติกรรมผูปว ยและการรักษา
โดยไมใชยาเสมอ
นอกจากนั้นแลวการใชยารักษาทีจ่ ําเพาะตอโรคเชน ยากลุม Acetylcholinesterase inhibitors
(AchEIs) จะชวยลดอาการทางพฤติกรรมและจิตประสาทเหลานี้ได หรือสามารถปองกันการเกิดอาการ
เหลานี้ได เนื่องจากไปแกไขที่พยาธิสรีรวิทยาของโรคอัลซไฮเมอรโดยตรง

ปจจัยอื่นๆ ที่แพทยควรจะแนะนําผูปวยและญาติ
แพทยควรจะใหคําปรึกษากับผูปว ยและญาติเกี่ยวกับโรค การดําเนินโรค และทักษะตางๆ ใน
การปรับตัวกับโรคทีด่ ําเนินไป การปรับตัวนี้จะคอยเปนคอยไป และใชเวลานาน รวมถึงมีความ
ซับซอนเกิดขึ้นตามความรุนแรงของโรคที่มากขึ้น แพทยจะเปนจะตองใหการสนับสนุนผูด ูแลใหทาํ
หนาที่ตอไปอยางดีท่สี ุด และไมควรละเลยที่จะใสใจกับสุขภาพของผูดูแลเชนกัน การพูดคุยสนทนา
กันอยางตรงไปตรงมา จะชวยใหผดู ูแลผอนคลายลง และลดความออนลาทั้งกายและใจจากการดูแล
ผูปวยตลอดเวลาได การมีกลุม หรือชมรมของผูดูแลเพือ่ สนับสนุนการดูแลจะชวยแบงเบาภาระของ
ผูดูแลได
เมื่อโรคดําเนินมากขึน้ ผูปว ยจะสูญเสียประสิทธิภาพในการคิด-ตัดสินใจ ทําใหการบริหาร
จัดการภายในบาน มรดก และพินัยกรรม หรือกระทั่งการตัดสินใจในการวางแผนเกี่ยวกับ ตัวเอง
ผิดพลาดได การวางแผนลวงหนาขณะที่ผปู ว ยยังพอตัดสินใจไดรวมกับญาติ จึงมีสวนสําคัญในการ
บริหาร หรือตัดสินใจในเรื่องสําคัญ หากเปนไปไดควรจะมีการพูดคุยเกี่ยวกับการรักษาในระยะยาว
การใสทอ เพื่อใหอาหาร การใหยารักษาอาการเจ็บปวย หรือกระทั่งการกูชพี เมื่อถึงระยะสุดทาย

บทบาทและหนาที่ของแพทยในทางกฎหมาย(7)
แพทย ตองบันทึกขอมูลของผูปว ยอยางละเอียดถูกตอง เนือ่ งจาก ขอมูลนี้อาจจะถูกนําไป
อางอิงในทางกฎหมาย เมื่อใหความเห็นในใบรับรองแพทย เปนพยาน หรือใหความเห็นในฐานะ
ผูทรงคุณวุฒิ แพทยจึงตอง
1. วินิจฉัยโรคดวยความระมัดระวังและรอบคอบ บันทึกรายละเอียด การซักประวัติ การตรวจรางกาย
การตรวจทางหองปฏิบัติการ การตรวจ mental status และการสัมภาษณผูดูแล และญาติ
2. บันทึกรายงานของผูปว ย ครอบคลุมทั้งดานสุขภาพทางกาย ความสามารถในการตัดสินใจ อาการ
ทางจิต ความสามารถในการใชชวี ิตประจําวันเปนระยะ
3. เมื่อใหความเห็นในใบรับรองแพทย ใหถามความประสงคของญาติในการเขียนใบรับรองแพทย
และทบทวนขอมูลผูปว ยกอนใหความเห็น ในกรณีทข่ี อมูลเดิมไมเพียงพอ ใหศกึ ษาขอมูลเพิ่มเติมจน
แนใจกอนใหความเห็น กรณีท่ไี มแนใจในการใหความเห็น ควรขอความเห็นจากแพทยผเู ชี่ยวชาญ
4. เมื่อใหความเห็นในฐานะพยาน ควรทบทวนขอมูลของผูปวยกอนไปศาล ในกรณีท่มี กี ารบันทึกวิดิ
ทัศนเพื่อประกอบการทําพินัยกรรม ใหแสดงการตรวจรางกายที่แสดงระดับความรูสกึ ตัว และ
ความสามารถในการตัดสินใจ เชน การตรวจ mental status ไวในวิดิทัศน

คําวินจิ ฉัยของแพทยวาผูปว ยเปนโรคสมองเสื่อม ตองสอดคลองกับคํานิยามของโรคสมอง
เสื่อมที่เปนมาตรฐาน เชน DSM – IV โดยแพทยจะตองมีการบันทึกการเปลี่ยนแปลงของผูปว ยเปน
ระยะๆ เพื่อเห็นการเปลี่ยนแปลง การบันทึกการเปลี่ยนแปลงอาการของผูปว ย ควรบันทึกอาการที่บง
บอกถึงความเสื่อมของสมองสวนตาง ๆ ที่ตรวจพบจาก พฤติกรรมดานสังคม สิ่งแวดลอม และงาน
ประจํา ตลอดจนกิจวัตรประจําวันสวนตัวจากคําบอกเลาของญาติหรือผูดูแล
เนื่องจากแพทยตองเปนพยานในศาล ไมวากรณีใดวัตถุพยานที่เปนที่เชื่อถือมากที่สุด คือ
พยานเอกสารหรือเอกสารทางการแพทย การขาดรายละเอียดอาจจะเปนปญหาสําหรับผูปว ยหรือญาติท่ี
จะไดรับความเปนธรรม เนื่องจากการเจ็บปวย โดยเฉพาะอยางยิ่งกรณีท่มี กี ารตอสูทางคดี
เพื่อ
ผลประโยชน เชน คดีใหพนิ ยั กรรมเปน โมฆะ หรือการรับผิดชอบทางดานคดีแพงหรือคดีอาญา ที่
ตองการพิสูจนวาเปนเหตุการณเกิดกอนหรือภายหลังมีการเจ็บปวยเกิดขึ้น
ปญหาทางดานกฎหมายที่สําคัญของผูปว ยโรคสมองเสื่อมคือ การถูกพิพากษาวาเปนบุคคล
วิกลจริตหรือไรความสามารถ และการตองมีบคุ คลอื่นมาเปนผูอภิบาล การถูกพิพากษาวาเปนบุคคล
วิกลจริตหรือไรความสามารถเปนคําสั่งของศาลเทานั้น ดังนั้นการออกใบรับรองแพทยท่รี ะบุวา ผูปว ย
เปนบุคคลวิกลจริต หรือไรความสามารถไมมผี ลทางกฎหมาย

เอกสารอางอิง
1. Kawas C, Gray S, Brookmeyer R, Fozard J, Zonderman A. Age-specific incidence
rates of Alzheimer’s disease: The Baltimore Longitudinal study of Aging. Neurology
2000; 54:2072-7.
2. Evans DA, Funkenstein HH, Albert MS, Scherr PA, Cook NR, Chown MJ, et al.
Prevalence of Alzheimer’s disease in a community population of older persons: higher
than previously reported. JAMA 1989;262:2551-6
3. Ernst RL, Hay JW, Fenn C, Tinklenberg J, Yesavage JA. Cognitive function and the
costs of Alzheimer’s disease : An exploratory study. Arch Neurol 1997;54:681-93
4. Senanarong U, Poungvarin N, Sukhatunga K, Prayoonwiwat N, Chaisewikul R,
Petchurai R, et al. Cognitive status in the community dwelling Thai elderly. J Med
Assoc Thai 2001;84:408- 16
5. กองเกียรติ กูณฑกันทรากร. ภาวะสมองเสื่อม ใน:กองเกียรติ กูณฑกันทรากร.
บรรณาธิการ. ประสาทวิทยาพื้นฐาน. สํานักพิมพมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร 2547:หนา
169-168.
6. Desai AK, Grossberg GT. Diagnosis and treatment of Alzheimer’s disease. Neurology
2005;64(Suppl 3):s34-s39.
7. ประเสริฐ บุญเกิด. บรรณาธิการ. แนวทางการรักษาภาวะสมองเสื่อม. สถาบันประสาท
วิทยา กรมการแพทย กระทรวงสาธารณสุข. 2546.
8. Weytingh MD, Bossuyt PM, van Crevel H. Reversible dementia: more than 10% or less
than 1% A quantitative review. J Neurol 1995;242:466-71.
9. Assantachai P, Yamwong P, Chongsuphaijaisiddhi T. Relationships of vitamin B1, B12,
folate and the cognitive ability of the Thai rural elderly. J Med Assoc Thai 1997;80:7005.
10. Knopman DS, Dekosky ST, Cumming JL, Chui H, Corey-Bloom J, Relkin N, et al.
Practice Parameter: Diagnosis of dementia(an evidence-based review):Report of the
Quality Standards Subcommittee of the American Academy of Neurology. Neurology
2001;56:1143-53.

11. Cummings JL, Mega MS. Neuropsychiatry and behavioral neuroscience. Oxford
University Press 2003.
12. Masdeu JC, Zubieta JL, Arbizu J. Neuroimaging an a marker of the onset and
progression of Alzheimer’s disease. J Neurol Sci 2005;15:236:55-64.
13. Huang , Marie SK, Livramento JA, Chammas R, Nitrini R. 14-3-3 Protein in the CSF of
patients with rapidly progressive dementia. Neurology 2003:61;354-7.
14. Wieser HG, Schindler K, Zumsteg D. EEG in Creutzfeldt-Jakob disease. Clin
Neurophysiol 2006 Jan 24;(Epub ahead of print).
15. Cummings JL, Cherry D, Kohatsu ND, Kemp B, Hewitt L, Mittman B. Guidelines for
managing Alzheimer’s disease: Part I. Assessment. Am Fam Physician 2002; 65: 226372.
16. Nakamura S. A guideline for the treatment of dementia in Japan. Intern Med 2004; 43:
18-29.
17. Ballard C, Howard R. Neuroleptic drugs in dementia: benefits and harm. Nat Rev
Neurosci 2006; 7: 492-500.
18. Schulz R, O’Brien AT, Bookwala J, Feissner K. Psychiatric and physical morbidity
effects of dementia caregiving: prevalence, correlates, and causes. Gerontologist 1995;35:
771-91.
19. Emre M, Aarsland D, Albanese A, Byrne EJ, Deuschl G, De Deyn PP, et al.
Rivastigmine for dementia associated with Parkinson's disease. N Engl J Med 2004; 351:
2509-18.
20. Poewe W, Wolters E, Emre M, Onofrj M, Hsu C, Tekin S, et al. Long-term benefits of
rivastigmine in dementia associated with Parkinson's disease: an active treatment
extension study. Mov Disord 2006; 21: 456-61.
21. Winblad B, Kilander L, Eriksson S, Minthon L, Batsman S, Wetterholm AL, et al.
Donepezil in patients with severe Alzheimer's disease: double-blind, parallel-group,
placebo-controlled study. Lancet 2006; 367; 1057-65.
22. Craig D, Birks J. Galantamine for vascular cognitive impairment. Cochrane Database
Syst Rev. 2006 Jan 25;(1):CD004746.

23. Cummings JL. Alzheimer‘s disease. N Engl J Med 2004;351:56-67.
24. Standridge JB. Pharmacotherapeutic approaches to the treatment of Alzheimer’s disease .
Clin Ther 2004; 26:615-630.
25. Farlow M, Potkin S, Koumaras B, Veach J , Mirski D. Analysis of outcome in
retrieved dropout patients in a rivastigmine vs placebo, 26 week, Alzheimer’s disease
trial. Arch Neurol 2003; 60: 843-8.
26. Trinh NH, Hoblyn J, Mohanty S, Yaffe K. Efficacy of cholinesterase inhibitors in the
treatment of neuropsychiatric symptoms and functional impairment in Alzheimer’s
disease A meta – analysis. JAMA 2003; 289:210 -216.
27. Birks J. Cholinesterase inhibitors for Alzheimer's disease. Cochrane Database Syst Rev.
2006 Jan 25;(1):CD005593.
28. Sano M. Economic effect of cholinesterase Inhibitor therapy: implications for managed
care. Manag care Interface 2004; 17: 44 – 9.
29. Lanctot KL, Herrmann N, Yau KK, et al. Efficacy and safety of cholinesterase inhibitors
in Alzheimer’s disease : A meta – analysis. CMAJ 2003; 169:557 -564.
30. Cummings JL. Use of cholinesterase inhibitors in clinical practice: evidence – based
recommendations. Am J Geriatr Psychiatry 2003; 1: 131-45.
31. Reisberg B, Doody R, Stoffler A , Schmitt F , Ferris S , Mobius HJ. Memantine in
moderate – to – severe Alzheimer’s disease . N Engl J Med 2003;348: 1333 – 41.
32. Tariot PN, Farlow MR, Grossberg GT, Graham SM, McDonald S, Gergel I. Memantine
treatment in patients with moderate to severe Alzheimer’s disease already receiving
donepezil : a randomized controlled trial. JAMA 2004 ; 291: 317 – 24.
33. Cummings JL, Schneider E, Tariot PN, Graham SM; Memantine MEM-MD-02 Study
Group. Behavioral effects of memantine in Alzheimer disease patients receiving
donepezil treatment. Neurology 2006; 67: 52-63.
34. McShane R, Areosa Sastre A, Minakaran N. Memantine for dementia. Cochrane
Database Syst Rev. 2006 Apr 19;(2):CD003154.

35. Sano M, Ernesto C, Thomas RG, Klauber MR, Schafer K, Grundman M, et al. A
controlled trial of selegiline, alpha tocopherol, or both as treatment for Alzheimer’s
disease . N Engl J Med 1997; 336: 1216 - 22
36. Zandi PP, Anthony JC, Khachaturian AS, Stone SV, Gustafson D, Tschanz JT, et al.
Reduced cost of Alzheimer’s disease in users of antioxidant vitamin supplement : the
cache county study. Arch Neurol 2004; 61: 82-8.
37. Engelhart MJ, Geerlings MI, Ruitenberg A, van Swieten JC, Hofman A, Witteman JC, et
al. Dietary intake of antioxidants and risk of Alzheimer’s disease. JAMA 2002;
287:3223-9.
38. Aisen PS, Schafer KA, Grundman M, Pfeiffer E, Sano M, Davis KL, et al. Effects for
Rofecoxib of Naproxen vs Placebo on Alzheimer’s disease progression: a randomized
controlled trial . JAMA 2003; 289 : 2819 – 26.
39. Aisen PS, Davis KL, Berg JD, Schafer K, Campbell K, Thomas RG, et al. A
randomized controlled trial of prednisone in Alzheimer’s disease Neurology 2000; 54 :
588 – 13 .
40. Henderson VW, Paganini – Hill A , Miller BL, Elble RJ, Reyes PF, Shoupe D, et al. Estrogen for
Alzheimer’s disease in women : randomized , double blind placebo – controlled trial.
Neurology 2000; 54 :295- 301.
41. Shumaker SA, Legault C, Kuller L, Rapp SR, Thal L, Lane DS, et al. Conjugated equine
estrogens and incidence of probable dementia and mild cognitive impairment in
postmenopausal women: Women's Health Initiative Memory Study. JAMA
2004;291:2947-58.
42. Hock C, Konietzko U, Streffer JR , et al. Antibodies against beta – amyloid slow
cognitive decline in Alzheimer ‘s disease . Neuron 2003; 38:547 – 54 .
43. Morgan D. Immunotherapy for Alzheimer's disease. J Alzheimer’s Dis. 2006;9 (3
Suppl):425-32.
44. Schneider LS, Tariot PN, Dagerman KS, Davis SM, Hsiao JK, Ismail MS, et al.
Effectiveness of atypical Antipsychotic drugs in patients with Alzheimer's disease. N
Engl J Med 2006; 355:1525-38.

Sponsor Documents

Or use your account on DocShare.tips

Hide

Forgot your password?

Or register your new account on DocShare.tips

Hide

Lost your password? Please enter your email address. You will receive a link to create a new password.

Back to log-in

Close